Last updated: 23 พ.ย. 2564 | 2572 จำนวนผู้เข้าชม |
"หนึ่งภาพ แทนล้านคำพูด"
ทำไมรูปภาพบางภาพนั้น ดึงความรู้สึกของเราเข้าไปอยู่ในภาพนั้นได้เลย วันนี้ #Photoinmobile มีเทคนิคมาฝากกัน
5 วิธีฝึกเล่าเรื่องจากภาพถ่าย
สำหรับคนเริ่มต้น การถ่ายภาพไม่เพียงแค่ถ่ายทอดความสวยงามเท่านั้น เเต่เป็นการถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก เเละเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้คนที่มองได้เข้าใจในเรื่องราว เเละสารที่ช่างภาพต้องการจะสื่อ การเล่าเรื่องในการถ่ายภาพ คือ ความสามารถในการดึงผู้ชมไปยังฉากและบรรยากาศในขณะนั้น
หาข้อมูล รูปแบบการนำเสนอของการถ่ายภาพเเต่ละเเนว
หาข้อมูลของการถ่ายภาพเเต่ละเเนว เพราะเเต่ละชนิดเเต่ละประเภท มีการสื่อความหมายออกมาเเตกต่างกัน เเละเรื่องราวที่ต้องสื่อ ก็มากน้อยต่างกัน เช่น หากต้องไปถ่ายรูปอาหาร ก็ต้องถ่ายภาพอาหารอย่างไร เพื่อให้ดูน่าทาน เเละให้ผู้ชมรู้สึกถึงความอร่อย รสชาติของอาหาร ดึงดูดให้ลิ้มลอง เเต่ถ้าถ่ายเเนวท่องเที่ยว ก็ต้องคิดว่า จะดึงความสวยงามออกมาให้ผู้ชมได้เห็นอย่างไร ความยิ่งใหญ่เเละสวยงามของธรรมชาติ
เรียนรู้เทคนิคการถ่ายภาพ
เมื่อพูดถึงเรื่อง เทคนิคการถ่ายภาพ อาจจะทำให้หลายคนหนักใจ เริ่มตั้งเเต่การตั้งค่ากล้อง การวางองค์ประกอบ การเข้าใจเรื่องสีสัน เเละเเสง จะช่วยให้ภาพที่ถ่ายออกมานั้น ดูโดดเด่น เเละสะดุดตา หากภาพถ่ายชัด องค์ประกอบดี เเสงสวยเเล้ว ก็จะช่วยให้การเล่าเรื่องชัดเจนขึ้น เช่น การจัดระยะชัด ก็มีผลต่อการเล่าเรื่องโดยตรงเลยล่ะ
และหากต้องการสื่อให้เห็นความสวยงามของธรรมชาติ ด้วยการถ่ายเเบบ Landscape ภาพจะต้องชัดทั้งภาพ เพื่อเก็บรายละเอียดของสถานที่นั้น ๆ รูรับเเสงต้องเเคบ เเต่ถ้าเป็นการถ่ายภาพบุคคล โฟกัสหลักต้องคมชัด ก็อาจจะไม่ต้องเก็บภาพพื้นหลังให้ชัดมาก ก็จะต้องปรับรูรับเเสงให้กว้างขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า ช่างภาพต้องการจะให้เห็นอะไร เเละต้องการจะสื่ออะไรนั่นเอง
ส่วนการเข้าใจเเสง ก็เป็นเทคนิคอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ การตั้งค่าสมดุลเเสง ช่วงเวลาต่าง ๆ ของเเสงในเเต่ละวัน เพราะเเสงจะปรับอารมณ์ของภาพ ด้วยสีของเเสงในเเต่ละช่วงเวลานั่นเอง ดังนั้น นอกจากเทคนิคต่าง ๆ จะช่วยให้ภาพออกมาคมชัดแล้ว ยังช่วยให้การสื่อสารออกมาชัดขึ้นด้วย
ความหลงไหล
ความหลงไหลในการถ่ายภาพเป็นเรื่องที่ดี ในช่วงเเรกของการเริ่มถ่ายภาพ จะมีความหลงไหลเเละใฝ่รู้ เเต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป ความหลงไหลนั้นอาจจะหมดลง ดังนั้น พยายามนึกถึงตอนเริ่มต้นที่อยากจะถ่ายภาพ อย่าท้อใจเมื่อภาพที่ออกมาไม่เป็นอย่างที่ตั้งใจ พยายามพัฒนาเเละเรียนรู้เพิ่มขึ้น อย่าหยุดที่จะพัฒนาฝีมือตนเอง อาจจะลองเปลี่ยนเเนวการถ่ายภาพ เพื่อหาความหลงไหลที่มีในการถ่ายภาพอีกครั้ง
เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์
ถามขอความคิดเห็น และคำเเนะนำ ฉวยโอกาสจากเพจต่าง ๆ ที่สอนการถ่ายภาพ เพื่อช่วยในการพัฒนาด้านภาพถ่าย เข้ากลุ่มถ่ายภาพ เพื่อดูว่าภาพที่ถ่ายออกมา ยังต้องปรับปรุงอะไรบ้าง ขอคำเเนะนำจากผู้ที่ถ่ายภาพมาก่อน ผู้มีประสบการณ์ผู้เชี่ยวชาญในการถ่ายภาพเเนวนั้น อ่านจากหนังสือถ่ายภาพ หรือง่ายที่สุด คือ การอ่านจากภาพ วิเคราะห์ภาพ โดยการเปิดดูภาพของช่างภาพที่ชอบ ภาพเเนวที่ชอบ ( follow ช่างภาพทั่วโลกได้จาก instagram) เเล้วดูรายละเอียดว่า มีการจัดองค์ประกอบอย่างไร แสงเเละสี ทิศทางของเเสง เส้นนำสายตา การจัดเลเยอร์ จุดโฟกัสของภาพ
ฝึกฝนจนชำนาญ
ฝึกถ่ายภาพอยู่เสมอ มองหาจุดสนใจของภาพถ่ายให้เป็น เพื่อจะนำเสนอ ฝึกมองเเละสังเกต โพสภาพลง Instagram เพื่อดู feed back จากเพื่อน ๆ พกกล้องไปด้วยทุกที่ หาโอกาสออกเดินทางท่องเที่ยว เพื่อหามุมมองใหม่ เรื่องราวใหม่ ไม่เป็นไรที่ภาพจะออกมาไม่สวย ถ่ายไม่ดี ตราบใดที่ไม่หยุดพัฒนาตัวเอง ก็จะได้ภาพที่สวย เเละเล่าเรื่องราวได้ในซักวันหนึ่ง เเน่นอน
ขอบคุณที่มา photoschoolthailand.com กราบงามๆ สำหรับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์เหล่านี้